กระบวนการพิมพ์ (printing process steps)
กระบวนการพิมพ์ (printing process steps) มีหลายขั้นตอน และ ทุกขั้นตอนของ กระบวนการพิมพ์ มีความสำคัญในตัวเอง มีกิจกรรมต่างๆ มากมาย ตั้งแต่ก่อนการพิมพ์ เช่น การออกแบบไม่ว่าจะทั้งตัวกล่อง กราฟฟิก การบินล่วงหน้า และ หลังจากการพิมพ์จริงเสร็จสิ้น เช่น การตัด การพับ การประกอบ แต่ไม่จำเป็นเสมอไปที่สิ่งพิมพ์ทั้งหมด จะต้องผ่านกระบวนการเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น แผ่นพับโฆษณา ไม่ต้องเข้าเล่ม
กระบวนการพิมพ์ (printing process steps) ที่สำคัญมี 3 กระบวนการ
- Pre – Press ก่อนการพิมพ์
- Press การพิมพ์
- Post – Press หลังการพิมพ์
Pre – Press ขบวนการก่อนการพิมพ์ :
การกำหนดกระบวนการที่เกิดขึ้น ก่อนการพิมพ์ และ การดีไซน์ตกแต่ง เนื่องจากปัจจุบันสื่อสิ่งพิมพ์หลายฉบับ เผยแพร่ทั้งในสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ กระบวนการที่ใช้ร่วมกันจำนวนมาก จึงถูกเรียกว่า บริการพรีมีเดีย กระบวนการอาจดำเนินการในสถานที่เดียว เช่น สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ขนาดใหญ่ หรือ หลายแห่ง โดยทั่วไป บริษัทผู้จัดพิมพ์จะทำแบบครบวงจร ในขณะที่งานส่วนน้อยจะเกิดขึ้นที่บริษัทเตรียมพิมพ์โดยเฉพาะ ( ซึ่งเรียกอีกอย่างว่าสำนักงานบริการ หรือ ร้านรับพิมพ์ ) หลายคนในอุตสาหกรรมการพิมพ์ไม่ได้ถือว่าการออกแบบ เป็นงานเตรียมพิมพ์ แต่บริษัทของเรามีบริการให้ครบวงจร ตั้งแต่การออกแบบ เลือกกระดาษ วัสดุให้เหมาะสมกับงาน ขั้นตอนก่อนการพิมพ์ประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
การแปลงข้อมูลดิจิตอล ( Digitization ) ในกรณีอาร์ตเวิร์คเป็นภาพลายเส้น ภาพถ่าย ภาพวาด ฟิล์มสไลด์ จำเป็นต้องแปลงภาพเหล่านี้ให้เป็นข้อมูลดิจิตอลซึ่งทำได้โดยใช้เครื่องสแกนเนอร์ (Computer Scanner) และเพื่อคุณภาพที่ดียิ่งขึ้นควรใช้เครื่องสแกนเนอร์ที่มีคุณภาพสูง (High-end Scanner) เมื่อได้เป็นภาพดิจิตอล จึงจัดหน้าในคอมพิวเตอร์โดยใช้ซอฟต์แวร์ เช่น Adobe Indesign, Illustrator

การตรวจสอบไฟล์ข้อมูล ( Preflight ) เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นในงานพิมพ์อันจะก่อให้เกิดความเสียหาย และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย จำเป็นต้องมีการตรวจสอบรายละเอียดของไฟล์งาน หรือไฟล์อาร์ตเวิร์คก่อน ซึ่งซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการตรวจสอบดังกล่าว ได้แก่ FlightCheck, PreFlight Pro เป็นต้น รายการตรวจสอบของซอฟต์แวร์เหล่านี้จะช่วยตรวจสอบไฟล์ภาพว่าครบหรือไม่ ความถูกต้องของแบบตัวอักษร ขนาดชิ้นงาน
การจัดวางหน้าสำหรับทำแม่พิมพ์ ( Imposition ) เนื่องจากแม่พิมพ์ที่ใช้พิมพ์ มักมีขนาดใหญ่กว่าชิ้นงาน แม่พิมพ์หนึ่งชุดสามารถวางชิ้นงานได้หลายชิ้น ขั้นตอนนี้ จะเป็นการจัดวางหน้าสำหรับทำแม่พิมพ์แต่ละชุด ในการวางหน้าหนังสือ ต้องจัดวางหน้าให้ถูกต้อง เมื่อนำไปพับแล้วหน้าต่างๆ จะได้เรียงอย่างถูกต้อง ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดวางหน้าหนังสือ
การทำปรู๊ฟดิจิตอล ( Digital Proofing ) ก่อนที่จะทำเป็นแม่พิมพ์จริง มักมีการทำตัวอย่างงานพิมพ์ขึ้น เพื่อตรวจดูรายละเอียดต่างๆ สีสัน กราฟฟิก การทำตัวอย่าง หรือ ปรู๊ฟในขั้นนี้จะเป็นการพิมพ์จากเครื่องพิมพ์คอมพิวเตอร์ หรือพริ้นเตอร์ โดยทั่วไปจะใช้พริ้นเตอร์ระบบอิงค์เจ็ท ( Inkjet Printer ) ขนาดใหญ่ และ สามารถพิมพ์ตัวอย่างงานให้มีขนาดกับการจัดวางหน้าได้ใกล้เคียงกับแม่พิมพ์จริง การทำปรู๊ฟนี้จึงเรียกการทำปรู๊ฟดิจิตอล ( Digital Proofing ) การทำปรู๊ฟดิจิตอลจะประหยัดกว่าการทำแม่พิมพ์จริงแล้ว ทำปรู๊ฟจากแม่พิมพ์ หากมีการแก้ไขก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก
การทำฟิล์มแยกสี ( Process Film Making ) เป็นการทำฟิล์มที่แยกเป็นสีๆ สำหรับทำแม่พิมพ์ชุดหนึ่งๆ หลักการรทำฟิล์มแยกสี คือ การแยกภาพในไฟล์งานออกมาเป็นภาพแต่ละสี โดยมาตรฐานจะได้ภาพแม่สีสี่ภาพ ซึ่งเป็นภาพสีของ CMYK ( Cyan, Magenta, Yellow, Black ) ไฟล์งานจะถูกส่ง เป็นไฟล์ในรูปแบบโพสต์สคริปต์ ( PostScript File ) แล้วแปลงเป็นไฟล์รูปแบบราสเตอร์ ( Raster File ) ส่งไปเครื่องยิง / พิมพ์ฟิล์มที่มีชื่อเรียกว่า เครื่องอิมเมจเซ็ทเตอร์ ( Imagesetter ) ซึ่งเป็นเครื่องพริ้นเตอร์ที่ใช้ลำแสงสร้างภาพแบบฮาล์ฟโทน (Halftone) บนแผ่นฟิล์มไวแสงได้ฟิล์มที่มีภาพขาวดำตามภาพของสีแต่ละสีที่แยกไว้
การทำแม่พิมพ์ ( Plate Making ) ในปัจจุบันมีการสร้างเครื่องทำแม่พิมพ์โดยตรงจากคอมพิวเตอร์โดยไม่ต้องทำฟิล์มแยกสีก่อน เครื่องนี้มีวัสดุที่จะรับลำแสง เพื่อสร้างภาพเป็นแม่พิมพ์ไวแสง เครื่องที่ใช้ทำแม่พิมพ์ จากคอมพิวเตอร์ในระบบออฟเซ็ตเรียกว่า เครื่องเพลทเซ็ทเตอร์ ( Platesetter ) ประโยชน์ที่ได้คือทำให้ลดขั้นตอนและค่าใช้จ่าย ตลอดจนได้แม่พิมพ์ที่มีคุณภาพคมชัด แม่นยำขึ้น ส่วนข้อเสีย คือ เพลทชนิดนี้ยังมีราคาสูงอยู่ หากมีการแก้ไข หรือ แม่พิมพ์ชำรุด ค่าใช้จ่ายในการทำแม่พิมพ์ใหม่จะสูงกว่า
การทำปรู๊ฟแท่น/ปรู๊ฟแม่พิมพ์ ( Plate Proofing ) ในกรณีที่ต้องการตัวอย่างงานพิมพ์ที่มีรายละเอียดและสีสันที่ถูกต้องไว้ใช้ เปรียบเทียบกับงานในกระบวนการพิมพ์ จำเป็นต้องทำตัวอย่างหรือปรู๊ฟจากแม่พิมพ์จริงซึ่งอาจทำโดยใช้เครื่องปรู๊ฟ ที่จำลองการพิมพ์จากเครื่องพิมพ์จริงหรือใช้เครื่องพิมพ์จริงเลยก็ได้ ประเภทงานที่มักต้องทำปรู๊ฟแท่น คือ งาน นิตยสาร บรรจุภัณฑ์ แผ่นพับบางรายการ และงานพิมพ์ที่ต้องการคุณภาพสูง
Press ขบวนการการพิมพ์ :
เมื่อได้แม่พิมพ์ที่สมบูรณ์ ก็เริ่มเข้าสู่ขบวนการพิมพ์ ขบวนการพิมพ์มีความสำคัญมาก ชิ้นงานที่ออกมาขึ้นอยู่กับการพิมพ์เป็นหลักใหญ่ และ จะพบว่าปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดระหว่างลูกค้ากับโรงพิมพ์มักมาจากการพิมพ์เช่น สีไม่เหมือน พิมพ์เหลื่อม ข้อความไม่ชัด ดังนั้นการควบคุมการพิมพ์จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
การเตรียมพิมพ์ (Print Preparation) การเตรียมวัสดุใช้พิมพ์ เตรียมชนิดของวัสดุให้ถูกต้อง คำนวนจำนวนที่ต้องการพิมพ์ ทำการเตรียมขนาดวัสดุใช้พิมพ์สำหรับเข้าเครื่องพิมพ์ให้ถูกต้อง เตรียมหมึกที่ใช้พิมพ์ หากเป็นหมึกสีอื่นที่ไม่ใช่แม่สี ต้องสั่งผู้จำหน่ายหมึกจัดทำขึ้นมาหรือผสมเตรียมไว้ ที่สำคัญต้องตรวจสอบเครื่องพิมพ์ก่อนทุกครั้ง ว่าพร้อมใช้งานมั้ย และศึกษาปรู๊ฟเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น หากเป็นการพิมพ์สองด้านให้จับคู่แม่พิมพ์ให้ถูกต้อง

การพิมพ์ (Printing) แม่พิมพ์ที่ทำขึ้นก็ถูกทำสำหรับสีแต่ละสี เครื่องพิมพ์ แต่ละเครื่องอาจมีหน่วยพิมพ์ 1 สี 2 สี 4 สี หรือ มากกว่านั้น การพิมพ์หลากสีจึงอาจถูกนำเข้าเครื่องพิมพ์หลายเที่ยว เช่น งานพิมพ์ 4 สีหน้าเดียว เมื่อพิมพ์บนเครื่องที่มีหน่วยพิมพ์สีเดียว ต้องพิมพ์ทั้งหมด 4 เที่ยวพิมพ์ เครื่องพิมพ์บางประเภท อาจมีส่วนต่อท้ายหลังจากผ่านหน่วยพิมพ์แล้ว เช่น มีหน่วยเคลือบผิวด้วยน้ำยาเคลือบ มีหน่วยอบแห้ง เพื่อให้หมึกแห้งเร็วขึ้น มีหน่วยพับ หน่วยไดคัท เพื่อลดขั้นตอนการทำงานหลังการพิมพ์ เมื่อผ่านการพิมพ์ครบถ้วนแล้ว ต้องรอพักให้หมึกแห้งสนิท จึงนำไปดำเนินการขั้นตอนต่อไป
สำหรับการพิมพ์ระบบดิจิตอล จะไม่มีขบวนการทำฟิล์มแยกสี หรือ แม่พิมพ์ สามารถส่งคำสั่งพิมพ์โดยตรงจากเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เลย ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และ เวลาที่ใช้ไปกับการทำแม่พิมพ์ แต่มีข้อเสีย คือ ค่าพิมพ์ต่อแผ่นเทียบกับการพิมพ์แบบปกติยังสูงอยู่ หากพิมพ์จำนวนมากจะทำให้ต้นทุนสูงกว่าแบบปกติ
งานหลังพิมพ์เป็นส่วนผลิตสุดท้ายที่ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญ ในการผลิตงานพิมพ์มากที่สุด เราจึงให้ความสำคัญกับส่วนงานหลังพิมพ์เป็นพิเศษ เพื่อให้งานพิมพ์ที่ผลิตมีคุณภาพ และ ประสิทธิภาพสูงสุดต่อลูกค้า ทางเราจึงได้มีการเสริมเครื่องจักรในจุดต่างๆ ของงานหลังการพิมพ์ เช่น เครื่องหุ้มกล่องอัตโนมัติ, เครื่องปั๊ม, เครื่องเก็บ + เย็บ + ตัดในตัว เป็นต้น เราจำแนกประเภทงานหลังพิมพ์ไว้ ดังนี้
การเคลือบผิว
เคลือบเงาเฉพาะจุด (Spot UV) เป็นการเคลือบน้ำยาเฉพาะจุด ต่างกับการเคลือบยูวี เพราะต้องมีอุปกรณ์ เช่น บล็อคหรือแม่แบบที่มีขนาด และ สัดส่วนเฉพาะจุด ที่ต้องการลงน้ำยาเคลือบ ช่วยเพิ่มความโดดเด่นให้กับชิ้นงานโดยทั่วไป มักนิยมเคลือบผิวงานสิ่งพิมพ์ด้วยการเคลือบลามิเนตด้าน และจะ SPOT UV ทับอีกครั้งช่วยให้งานสิ่งพิมพ์ มีลักษณะเฉพาะขึ้น เช่น ตัวอักษรสำคัญ ภาพที่ต้องการเน้นลูกค้าของโรงพิมพ์ มักให้เคลือบพีวีซีด้านทั้งแผ่น ก่อนเคลือบเฉพาะจุด ซึ่งทำให้ชิ้นงานออกมาดูสวยงาม
เคลือบ OPP เงา เคลือบผิวกระดาษด้วยฟิล์ม OPP ที่มีผิวมันวาว ให้ความเงาสูง และ เงากว่าการเคลือบแบบยูวีแต่ต้นทุนสูงกว่า มีลูกค้าโรงพิมพ์ใช้พอสมควร
เคลือบ OPP ด้าน เคลือบผิวกระดาษด้วยฟิล์ม OPP ที่มีผิวด้านคล้ายผิวของกระจกฝ้าแต่สามารถมองผ่านทะลุถึงภาพพิมพ์ได้ ให้ผลลัพธ์ที่ดี และนิยมใช้กันมาก ลูกค้าของโรงพิมพ์มักให้ทำเคลือบเงาเฉพาะจุดควบคู่ไปด้วย
เคลือบยูวีเงา/ยูวีด้าน เคลือบผิวกระดาษด้วยน้ำยาเงา และ ทำให้แห้งด้วยแสงยูวี ให้ความเงาสูงกว่าแบบวานิช เพื่อเพิ่มความมันเงา และ สีสันให้กับสิ่งพิมพ์ ป้องกันการขีดข่วนระหว่างการผลิต เหมาะกับงานพิมพ์ ที่ต้องการโชว์ความสวยงามของสินค้า หรือ ผลิตภัณฑ์ และประหยัดค่าใช้จ่ายเนื่องจากต้นทุนราคาเคลือบถูก รวดเร็ว อีกทั้งเป็นงานเคลือบสิ่งพิมพ์ซึ่งเป็นที่นิยมกันโดยทั่วไป การเคลือบยูวีด้านก็เช่นเดียวกัน แต่เป็นการเคลือบผิวกระดาษที่ออกมามีผิวด้าน
การเคลือบวานิชเงา (glossy coating) เป็นการเคลือบผิวกระดาษ เพื่อปัองกันการขัดถู และ เสียดสีรวมทั้งให้เกิดความเงา เพราะตัววานิชทีใช้ไปเพิ่มค่าการสะท้อนแสงที่มาตกกระทบบนชิ้นงาน เกิดการสะท้อนแสงใส่ตาเวลามองมากขึ้น ค่าความเงาก็มากขึ้นกว่าเดิม แต่ก็ยังจัดเป็นการเคลือบที่ให้ความเงาไม่สูงมาก
การเคลือบวานิชด้าน (matt coating) เป็นการเคลือบผิวกระดาษ เพื่อปัองกันการขัดถู และ เสียดสีด้วยวานิชที่มีคุณสมบัติแห้งตัว แล้วลดการสะท้อนแสง ที่ตกกระทบบนงานพิมพ์ทำให้เกิดความเงาลดลง แต่ในปัจจุบันงานบรรจุภัณฑ์บางประเภท ใช้การเคลือบรูปแบบนี้เพื่อให้ดูชิ้นงานดูราคาแพงขึ้น
เคลือบวานิชแบบ Water Based Varnish เคลือบผิวกระดาษให้เงา ด้วยวานิชชนิดใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย เป็นการเคลือบที่จำกัดเฉพาะงานที่ผิวหน้าเป็นกระดาษ เพราะตัวทำละลายจะแห้งตัวและ ระเหยออกไปเหลือแต่ตัวเรซินที่ยึดเกาะกับผิวหน้าโครงสร้างของกระดาษ และ บางส่วนจมลงไปในเนื้อกระดาษ ดูลักษณะการสะท้อนแสงบนผิวหน้างานไม่สม่ำเสมอกัน แต่จะให้ความเงาดูเป็นธรรมชาติ
เคลือบ Hologram เป็นการเคลือบผิวสิ่งพิมพ์ด้วยฟิล์มพลาสติก เช่นเดียวกับการเคลือบลามิเนต แต่ต่างกันที่คุณสมบัติของเนื้อฟิล์มที่นำมาใช้มีลวดลาย หรือ ลูกเล่นทำให้งานสิ่งพิมพ์มีสีสัน สวยงาม ดูแปลกตา
การปั๊ม
การรีด/ปั๊มแผ่นฟอยล์ ( Hot Stamping ) ได้แก่ การปั๊มด้วยความร้อนให้แผ่นฟอยล์ไปติดบนชิ้นงานเป็นรูปตามแบบปั๊มมีทั้งการปั๊มฟอยล์เงิน/ทอง ฟอยล์สีต่างๆ ฟอยล์ลวดลายต่างๆ ฟอยล์โฮโลแกรม เป็นต้น
การปั๊มนูน/ปั๊มลึก ( Embossing / Debossing ) คือการปั๊มให้ชิ้นงานนูนขึ้น หรือ ลึกลงจากผิว เป็นรูปร่างตามแบบตัวปั๊ม เช่น การปั๊มนูนตัวอักษร สัญลักษณ์
การขึ้นรูป ( Forming ) ได้แก่ การตัด ไดคัท เช่น งานทำฉลาก การขึ้นเส้นสำหรับพับ
การปั๊มเป็นรูปทรง/การไดคัท เช่นงานทำกล่อง งานเจาะหน้าต่างเป็นรูปต่างๆ การทากาว หรือทำให้ติดกัน เช่น งานทำกล่อง งานทำซองการหุ้มกระดาษแข็ง เช่น งานทำปกแข็ง งานทำฐานปฏิทิน
ปั๊มทองเค เป็นการปั๊มแผ่นฟอยล์ ด้วยความร้อนติดกับงานสิ่งพิมพ์ ตามรูปแบบที่ได้ทำแม่พิมพ์ไว้ เพื่อเพิ่มความโดดเด่นให้กับชิ้นงาน ต้องอาศัยประสบการณ์ และ ความสามารถ การผลิตเป็นที่นิยม เช่นการ์ดแต่งงาน ประกาศนียบัตร นามบัตร ปัจจุบันมีฟอยล์หลากหลายสีให้ได้เลือกใช้
การไดคัท
เป็นการเพิ่มความสวยงามให้กับงานพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นงานพิมพ์ด้วยระบบดิจิตอล หรือ งานพิมพ์ออฟเซ็ท สามารถทำได้ ไดคัทเป็นการปั๊มกระดาษ ออกเป็นชิ้นงานในรูปแบบต่างๆ ขึ้นอยู่กับการออกแบบ โดยใช้ใบมีดดัดโค้งงอเป็นแม่แบบ ( บล็อค ) แล้วจึงปั๊มไดคัทตามรูปแบบ เช่น ไดคัทรูปดาว บัตรเข้างาน หรือ ไดคัทการ์ด ปั๊มสติ๊กเกอร์ งานกล่องกระดาษ ต้องใช้ประสบการณ์ และ ความชำนาญในการปรับตั้งเครื่อง เพื่อให้ได้จังหวะการไดคัท หรือ การถ่ายเทน้ำหนักจากบล็อคสู่งานพิมพ์ให้ได้พอดี โดยไม่ฉีกขาด
การขึ้นรูปกล่อง
แปะกาวกล่อง เหมาะสำหรับกล่องที่จำเป็นต้องทากาว ซึ่งขั้นตอนนี้จะทำงานไปพร้อมทั้งประกอบขึ้นรูปกล่องและทากาวไปในตัว เช่น ทากาวกล่องด้านข้าง, ทากาวกล่องฝาหัวท้าย เป็นต้น
พับประกอบขึ้นรูป ประกอบ และขึ้นรูปกล่อง เพื่อพร้อมบรรจุสินค้า จะเหมาะกับกล่องที่มีความซับซ้อนมาก จำเป็นต้องใช้ความชำนาญ เช่น กล่องแบบฝาครอบมีลิ้น, กล่องบานประตู, กล่องกระเป๋าหิ้วร้อยเชือก และอื่นๆ
แต่ขั้นตอนนี้จะทำให้การขนส่งยุ่งยากบรรจุหีบห่อได้จำนวนน้อย จึงจัดส่งเป็นลักษณะแผ่นแล้วขึ้นรูปที่ลูกค้า

การบรรจุหีบห่อ
เป็นขั้นตอนสุดท้าย ในการจัดส่งสินค้าจนถึงมือลูกค้า เพื่อพร้อมบรรจุสินค้า จะมีลักษณะเป็นแผ่นจากนั้นทำการคลี่ออกเป็นกล่องแล้วบรรจุสินค้าปิดผนึก ซึ่งจะง่ายต่อการขนส่ง โดยมีการแนะนำหรือคู่มือวิธีการพับขึ้นรูปกล่อง และบรรจุสินค้าที่ถูกต้อง
แหล่งข้อมูล : https://www.graphic-design-institute.com/prepress-postpress-important-for-graphic-designers/
https://www.igcbook.com/wp-content/uploads/2018/04/IGC2-08-Print-Processes.pdf
https://khangthanh.com/en/Other-news/5-basic-steps-in-offset-printing-process-1349.html