By - paradee maneegun

ออกแบบโลโก้ สามารถสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ที่ดีได้

ออกแบบโลโก้ เป็นเคล็ดลับที่ช่วยสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ที่ดี ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อน ว่า โลโก้ คืออะไร ?

และ มันสำคัญกับภาพลักษณ์แบรนด์ได้ยังไง โลโก้แค่นี้ มันจะส่งผลต่อภาพลักษณ์แบรนด์ได้ขนาดนั้นเลยหรอ ?

ออกแบบโลโก้ จะช่วยระบุให้ชัดเจนว่าแบรนด์ของคุณ คืออะไร และ โลโก้ยังเป็นอีกวิธี ที่ช่วยดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย โลโก้เป็นสิ่งแรกที่ลูกค้าจะได้เห็น และในการออกแบบ ต้องคำนึงถึงความถูกต้อง และ ความเหมาะสมกับแบรนด์ของเรา ไม่ว่าจะออกแบบโลโก้ใหม่ ตั้งแต่เริ่มต้น หรือ ใช้เทมเพลตโลโก้ เราควรทำความเข้าใจ กับโลโก้ประเภทต่าง ๆ ก่อน

เคล็ดลับ สร้างภาพลักษณ์แบรนด์ที่ดี ได้จากการออกแบบโลโก้ มีดังนี้

  • โลโก้ โมโนแกรม
  • โลโก้ เครื่องหมายผสม
  • โลโก้ เวิร์ดมาร์ก
  • สัญลักษณ์โลโก้
  • เครื่องหมายโลโก้ นามธรรม
  • โลโก้ มาสคอต
  • โลโก้ สัญลักษณ์

7 เคล็ดลับ สร้างภาพลักษณ์แบรนด์ที่ดี ได้จากการออกแบบโลโก้ และ วิธีใช้งาน

1. Monogram logos : โมโนแกรม

เป็นโลโก้ที่ประกอบด้วยตัวอักษร ที่นำมาย่อจาก ชื่อของแบรนด์อีกที ให้เหลือตัวอักษรไม่เกิน 1 – 3 ตัว เพราะแบรนด์ส่วนใหญ่ มีชื่อเต็มที่ค่อนข้างยาว การใช้โลโก้ที่มีตัวอักษรเพียงไม่กี่ตัว ทำให้แบรนด์ของบริษัทมีความคล่องตัวมากขึ้น และ สามารถสร้างการจดจำได้ดีกว่าการใช้ชื่อเต็ม

เคล็ดลับ สร้างภาพลักษณ์แบรนด์ที่ดี ได้จากการออกแบบโลโก้
  • ข้อดี :  เหมาะกับบริษัทที่มีชื่อยาว ต้องการย่อเพื่อความสะดวกในการนำไปใช้งาน และจดจำได้ง่าย
  • ข้อเสีย : ถ้าเป็นบริษัทที่ใหม่ในตลาด การใช้โลโก้ Monogram logos อาจจะทำให้แยกยาก และเกิดความสับสน  แต่ก็สามารถแก้ได้ โดยเพิ่มชื่อเต็มเล็ก ๆ ไว้ด้านล่างของโลโก้           

2. ครื่องหมายผสม

โลโก้ เครื่องหมายผสมเป็นภาพ และ คำในองค์ประกอบร่วมกัน โลโก้นี้ เป็นที่นิยมมากที่สุด เพราะออกแบบได้หลากหลาย และ ใช้งานได้จริง ในโลโก้แบบผสมส่วนประกอบภาพ สามารถอยู่ด้านบน ด้านข้าง หรือ ด้านล่างของตัวอักษรก็ได้ โลโก้เครื่องหมายผสมที่ดีที่สุด คือ โลโก้ที่สามารถใช้แยกกันได้ และ ยังคงจดจำได้

เคล็ดลับ สร้างภาพลักษณ์แบรนด์ที่ดี ได้จากการออกแบบโลโก้
  • ข้อดี : สามารถปรับเปลี่ยน หรือดัดแปลงได้ในอนาคต ตามยุคสมัย
  • ข้อเสีย : ถ้าบริษัทต้องการความเรียบง่าย minimal โลโก้ประเภทนี้ อาจทำให้ดูมีรายละเอียดเยอะเกินไป ขัดกับภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้

3. โลโก้ : Wordmark

โลโก้ Wordmark เป็นที่นิยมเป็นอันดับสอง เมื่อพูดถึงการใช้งานทั่วไป สำหรับโลโก้นี้ จะเน้นไปที่ชื่อของธุรกิจ ตัวชื่อมีความติดหู และ จดจำง่าย ด้วยความที่มีแต่ตัวอักษร และรายละเอียดน้อยโลโก้นี้ จึงสามารถย่อให้เล็ก หรือใช้งานในพื้นที่เล็ก ๆ ได้ เช่น โปรไฟล์โซเชียลมีเดีย ตัวอย่าง โลโก้เวิร์ดมาร์คที่มีชื่อเสียง ได้แก่ Google, Coca – Cola ดังนั้นโลโก้นี้ จะเน้นไปที่การดีไซน์ตัวอักษร ให้ออกมาตรง กับภาพลักษณ์ของแบรนด์

ออกแบบโลโก้
  • ข้อดี : เป็นโลโก้ที่จดจำได้ง่าย เมื่อมีแบบโลโก้ที่ชัดเจนแล้ว สามารถนำไปรวมกับองค์ประกอบอื่น ๆ ได้
  • ข้อเสีย : ถ้าชื่อบริษัทยาวโลโก้ประเภทนี้ อาจจะไม่ตอบโจทย์

4. สัญลักษณ์ โลโก้

เครื่องหมายรูปภาพ เน้นไปตรงการออกแบบกราฟฟิก ให้ออกมาเป็นสัญลักษณ์รูปร่างที่เข้าใจง่าย และ น่าจดจำ สามารถเห็นแล้วรับรู้ได้ว่า มาจากแบรนด์ไหน เช่น โลโก้ Apple , twitter

ออกแบบโลโก้
  • ข้อดี : สามารถแสดงผ่านรูปภาพ หรือ สัญลักษณ์ง่าย ๆ ได้ และ ทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบเนื่องจากเครื่องหมาย มาจากชื่อของแบรนด์ด้วย
  • ข้อเสีย : หากแบรนด์มีความใหม่ และ ยังไม่มีฐานลูกค้าที่มั่นคง ควรใช้โลโก้ที่แสดงถึง ชื่อแบรนด์ก่อน จึงค่อยปรับมาเป็น โลโก้ Symbol

5. เครื่องหมายโลโก้ นามธรรม

เน้นไปที่รูปภาพ หรือ สัญลักษณ์เช่นเดียวกัน เป็นภาพลักษณะสมมุติขึ้นมา อาจได้แรงบันดาลใจมาจากรูปร่าง ลายเส้น หรือ สัญลักษณ์บางอย่างมาดัดแปลงให้เกิดเป็นรูปภาพใหม่ ที่มีความเป็นนามธรรม ไม่มีความหมายสื่อสารตรงตัว

ออกแบบโลโก้
  • ข้อดี : โลโก้นามธรรม สามารถสร้างความแตกต่าง และ เป็นที่รู้จักในตลาดได้ง่าย นำไปใช้งานง่าย
  • ข้อเสีย : หากเป็นแบรนด์ใหม่ ที่ต้องสร้างชื่อให้บริษัท อาจจะต้องใช้ความพยายามหน่อย เพื่อให้เป็นที่รู้จักในตลาด

6. โลโก้ : มาสคอต

เป็นโลโก้ภาพประกอบ ที่มีการออกแบบจากรูปคน สัตว์ หรือ ตัวการ์ตูนที่เรากำหนดมาให้เป็น Mascot ของแบรนด์ เป็นตัวแทนของแบรนด์ เพื่อช่วยสร้างการจดจำได้เป็นอย่างดี สามารภดึงดูดกลุ่มลูกค้าได้ Mascot ยังเป็นจุดที่สามารถเชื่อมผู้คนกับแบรนด์ให้มีส่วนร่วมกัน

ออกแบบโลโก้
  • ข้อดี : หากกลุ่มลูกค้าเป็นเด็ก หรือผู้ที่ชื่นชอบการ์ตูน โลโก้ mascot นั้นตอบโจทย์มาก สามารถดึงดูดกลุ่มลูกค้าได้ง่าย ทำให้ภาพลักษณ์ดูเป็นกันเอง และ สนุกสนาน
  • ข้อเสีย : ยากต่อการติดต่อ หรือ ส่งข้อความที่มีความเป็นทางการมากๆ

7. โลโก้ : สัญลักษณ์

เป็นโลโก้ ตราสัญลักษณ์ที่องค์ประกอบต่าง ๆ เช่น รูปภาพ สัญลักษณ์ และตัวอักษร จะรวมตัวอยู่ในกลุ่มเดียวกัน โดยมีกรอบล้อมรอบ มีข้อควรระวังในการออกแบบ เนื่องจากการออกแบบที่มีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ รวมอยู่ในกลุ่มก้อนเดียวกัน การใช้โลโก้ที่มีสัดส่วนที่เล็กลงอาจทำให้เห็นรายละเอียดต่าง ๆ ได้ไม่ครบ หรือไม่ชัดเจน ไม่ควรออกแบบโดยใช้รายละเอียดที่มากจนเกินไป

ออกแบบโลโก้
  • ข้อดี : สร้างความน่าจดจำ และ ความเป็นมืออาชีพให้แบรนด์ได้ ให้ความรูสึกที่ทรงพลัง ยากต่อการซ้ำกันของโลโก้ชนิดนี้
  • ข้อเสีย : ด้วยรายละเอียดที่เยอะ จึงไม่สามารถนำไปใช้ในพื้นที่เล็ก ๆ ได้ อาจจะทำให้ยากต่อการมองเห็นรายละเอียดของโลโก้ที่ครบถ้วนได้

อ้างอิง https://visme.co/blog/types-of-logos/  , https://99designs.com/blog/tips/types-of-logos/

ใส่ความเห็น

Your email address will not be published.
*
*